สายฟอกไตใส่ตรงไหนได้บ้าง & แตกต่างกันอย่างไร❓

สายฟอกไตใส่ตรงไหนได้บ้าง & แตกต่างกันอย่างไร❓        สายฟอกไตหรือสายฟอกเลือดเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใส่เพื่อฟอกเลือดเร่งด่วนซึ่งมี 2 แบบคือ   1.แบบชั่วคราว 2.แบบกึ่งถาวร   อายุการใช้งานของ 2 แบบนี้ต่างกันค่อนข้างมาก❗️   แบบชั่วคราว  = 1สัปดาห์ – 1เดือน แบบถาวร = 6เดือน – 2ปี      ซึ่งอายุการใช้งานก็ขึ้นอยู่กับจุดที่ใส่สายฟอกไตด้วย บริเวณที่ใส่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะกำหนดเวลาการใช้งานของสายฟอกไต   แบ่งเป็น 2 จุดคือ 1.คอ 2.ขาหนีบ   ทำไมถึงเป็นที่คอและขาทั้งสองข้างใส่ที่อื่นไม่ได้หรือ❓      ก็เพราะว่าบริเวณนี้มีเส้นเลือดดำขนาดใหญ่อยู่จึงเป็นที่ที่เหมาะสมในการใส่สายฟอกไตเพราะการฟอกเลือดต้องดูดเลือดจำนวนมากจากสายดังนั้นเส้นเลือดที่เล็ก เช่น ปลายมือปลายเท้าไม่สามารถดูดเลือดได้เพียงพอ   เส้นฟอกไตชั่วคราวบริเวณคอ แบ่งเป็น   1.คอขวา  ดีที่สุดใช้ได้ประมาณ 1 เดือน   2.คอซ้าย  เป็นอันดับ 2 […]

ทำไมความดันต่ำตอนฟอกไต❗️❗️❗️

ทำไมความดันต่ำตอนฟอกไต❗️❗️❗️   อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ความดันตกขณะล้างไตบ่อยที่สุด❓   “การดึงน้ำออกมาเกินไปหรือเร็วเกินไป❗️”     การดึงน้ำออกมากเกินไปเกิดจากตั้งน้ำหนักแห้งไว้ต่ำเกิน   หรือการดึงน้ำออกเร็วเกินไปเกิดจากคนไข้มีน้ำหนักเกิน (มักเกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไปหรือกินเค็มอย่างหลังจะพบบ่อยที่สุด)   โดยปกติแล้วร่างกายเราจะปรับตัวให้ความดันคงที่ช่วงที่ดึงน้ำออก แต่คนไข้บางกลุ่มโดยเฉพาะพวกโรคเบาหวานระบบประสาทที่เลี้ยงหลอดเลือดหัวใจปรับตัวไม่ดีเท่าคนปกติมักเกิดความดันต่ำได้ง่ายหลังจากดึงน้ำ   ทำไมความดันจึงตกขณะฟอกไต❓   การดึงน้ำออกมาเกินไปหรือเร็วเกินไป กินยาลดความดันก่อนล้างไต กินอาหารก่อนหรือระหว่างการล้างไต มีโรคหัวใจบางชนิดอยู่ก่อนแล้วเช่นลิ้นหัวใจตีบ มีน้ำขังรอบเยื่อหุ้มหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากการขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจหนาจากภาวะความดันสูงเป็นระยะเวลานาน ภาวะซีด แพ้ไส้กรองล้างไต     จะเกิดอะไรถ้าความดันตกขณะล้างไต❗️   กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดปกติ เส้นล้างไตอุดตัน เป็นลมหรือหมดสติได้   การรักษา   1.ไม่ควรมีน้ำหนักเกินมาก “ไม่ควรเกิน 2-3 kg”   2.หลีกเลี่ยงการกินยาลดความดันใกล้กับเวลาที่จะมาล้างไต ยกเว้นว่าความดันสูงมาก เช่น ความดันตัวบนมากกว่า180 “สามารถกินยาลดความดันหลังจากล้างไตหรือตอนกลางคืนวันก่อนล้างไต”   3.หลีกเลี่ยงการกินอาหารระหว่างการล้างไตหรือก่อนล้างไตทันที “เพราะเลือดจะไปกองในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงทางเดินอาหารแทนทำให้ความดันตก”   4.ถ้าแก้ไข3 ข้อเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นผู้ป่วยควรได้รับการประเมินหัวใจโดยทำ Echocardiogram หรือพบแพทย์ด้านหัวใจ “การทำechocardiogram สามารถบอกว่าเรามีลิ้นหัวใจที่ตีบตัน น้ำขังเยื่อหุ้มรอบหัวใจ […]

“คันไปทั้งตัว ❗️” ชีวิตที่ต้องเกาทั้งวันของผู้ป่วยไตวาย

“คันไปทั้งตัว” ชีวิตที่ต้องเกาทั้งวันของผู้ป่วยไตวาย      อาการคันเป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในผู้ป่วยล้างไต และ สร้างความรำคาญในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก    ในผู้ป่วยบางคนคันมากจนไม่สามารถนอนหลับได้😴 บางคนคันจนเกาเป็นแผลถลอกทั้งตัว🤕   ทำไมจึงคัน ❓ สาเหตุคืออะไร❓ แก้ไขได้มั๊ย ❓ ป้องกันได้มั๊ย❓   ภาวะคันในคนไข้ล้างไตมีหลายสาเหตุ   1.ผิวแห้ง( Xerosis )       พบบ่อยมาก60 ถึง90% มักพบว่าผู้ป่วยโรคไตนั้น “ต่อมเหงื่อกับต่อมไขมันฝ่อ”ทำให้เกิดผิวแห้งเป็นขุยระคายเคืองได้     2.ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง รวมไปถึงระดับแคลเซี่ยมหรือฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง      ส่วนใหญ่จะเกิดจากระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงมากกว่าสารตัวอื่นเพราะผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับสารฟอสฟอรัสออกทางไตได้     และเครื่องล้างไตก็ไม่สามารถดึงสารฟอสฟอรัสออกได้หมด (แม้จะเป็นเครื่องรุ่นใหม่ก็ตาม…ดังนั้นคุมอาหารยังมีความสำคัญเสมอ)        และในขณะเดียวกันยาที่ป้องกันการดูดซึมของฟอสฟอรัสนั้นก็ช่วยลดการดูดซึมได้ประมาณ30% เท่านั้น     เพราะฉะนั้นการรักษาภาวะฟอสฟอรัสในระดับเลือดให้ปกตินั้นจะขึ้นอยู่กับการรับประทานอาหารของผู้ป่วยเป็นหลัก “ดังนั้นผู้ป่วยต้องพยายามลดการทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง”       3. ได้รับการฟอกไตที่ไม่เพียงพอ        คนไข้บางคนล้างไตแค่ “สองครั้งต่ออาทิตย์แทนที่จะเป็นสามครั้ง” หรือ ผู้ป่วยที่เส้นฟอกไตมีปัญหาไม่สามารถดึงเลือดออกมาล้างได้เพียงพอ […]

ล้างไตทำไมชอบเป็น “ตะคริว” ❗️

ทำไมชอบเป็น “ตะคริว” ตอนล้างไต❗️    การเกิดตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยระหว่างการล้างไตและเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานมากซึ่งบางคนเป็นแทบทุกครั้งที่มีการล้างไต😭   สาเหตุส่วนใหญ่   1. เกิดจากดึงน้ำออกมากเกินไประหว่างการล้างไต      ⚠️เนื่องจากตั้งค่าน้ำหนักแห้งไว้ต่ำเกินไป   2. น้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติทำให้ต้องดึงน้ำออกมาก      ⚠️ยิ่งอัตราส่วนของการดึงน้ำออกมากเท่าไหร่โอกาสเป็นตะคริวก็มีมากเท่านั้น ( มีรายงานว่าน้ำหนักที่เพิ่มมากเกิน6% ของน้ำหนักตัวโอกาสเป็นตะคริวประมาณ49%)    3. ใช้น้ำยาล้างไตที่มีระดับแคลเซี่ยม, โพแทสเซียม, แมกนีเซียมหรือโซเดียมต่ำเกินไป     วิธีรักษา   1. ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำมากเกิน 1 ลิตรต่อวันในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีปัสสาวะออกแล้ว   2. ไม่ควรรับประทานเค็มมากเกินไป   3.น้ำหนักระหว่างการล้างไตสองครั้ง( IDW G: Interdialytic Weight Gain )       ⚠️ควรเพิ่มไม่เกินประมาณ 5%  ( ประมาณ 3.5 ถึง4 กิโลกรัมในผู้ป่วยที่น้ำหนัก70 กิโลกรัม, หรือ2.5 ถึง3 กิโลกรัมในผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก50 กิโลกรัม)    4.ดึงน้ำออกน้อยลงโดยการตั้งน้ำหนักแห้งที่สูงขึ้น      ⚠️โดยปกติคุณหมอโรคไตมีหน้าที่ปรับน้ำหนักแห้งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอยู่เป็นระยะ      👨‍⚕️โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย  ความดันปกติไม่มีขาบวม เสียงปอดปกติไม่บ่งชี้ว่ามีภาวะน้ำท่วมปอด […]

ผ่าตัดเส้นฟอกไตตรงไหนดีที่สุด

ผ่าตัดเส้นฟอกไตตรงไหนดีที่สุด? คำถามในใจของผู้ป่วยหลายๆท่าน บทความนี้มีคำตอบครับการผ่าตัดที่เหมาะสมโดยเฉพาะในครั้งแรกจะทำให้ชีวิตของท่านมีความสุขอย่างเหลือเชื่อ

1 2 3 4