ทำไมความดันต่ำตอนฟอกไต❗️❗️❗️
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ความดันตกขณะล้างไตบ่อยที่สุด❓
“การดึงน้ำออกมาเกินไปหรือเร็วเกินไป❗️”
การดึงน้ำออกมากเกินไปเกิดจากตั้งน้ำหนักแห้งไว้ต่ำเกิน
หรือการดึงน้ำออกเร็วเกินไปเกิดจากคนไข้มีน้ำหนักเกิน
(มักเกิดจากการดื่มน้ำมากเกินไปหรือกินเค็มอย่างหลังจะพบบ่อยที่สุด)
โดยปกติแล้วร่างกายเราจะปรับตัวให้ความดันคงที่ช่วงที่ดึงน้ำออก แต่คนไข้บางกลุ่มโดยเฉพาะพวกโรคเบาหวานระบบประสาทที่เลี้ยงหลอดเลือดหัวใจปรับตัวไม่ดีเท่าคนปกติมักเกิดความดันต่ำได้ง่ายหลังจากดึงน้ำ
ทำไมความดันจึงตกขณะฟอกไต❓
- การดึงน้ำออกมาเกินไปหรือเร็วเกินไป
- กินยาลดความดันก่อนล้างไต
- กินอาหารก่อนหรือระหว่างการล้างไต
- มีโรคหัวใจบางชนิดอยู่ก่อนแล้วเช่นลิ้นหัวใจตีบ
- มีน้ำขังรอบเยื่อหุ้มหัวใจ
- กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากการขาดเลือด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- กล้ามเนื้อหัวใจหนาจากภาวะความดันสูงเป็นระยะเวลานาน
- ภาวะซีด
- แพ้ไส้กรองล้างไต
จะเกิดอะไรถ้าความดันตกขณะล้างไต❗️
- กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- เส้นล้างไตอุดตัน
- เป็นลมหรือหมดสติได้
การรักษา
1.ไม่ควรมีน้ำหนักเกินมาก “ไม่ควรเกิน 2-3 kg”
2.หลีกเลี่ยงการกินยาลดความดันใกล้กับเวลาที่จะมาล้างไต ยกเว้นว่าความดันสูงมาก เช่น ความดันตัวบนมากกว่า180 “สามารถกินยาลดความดันหลังจากล้างไตหรือตอนกลางคืนวันก่อนล้างไต”
3.หลีกเลี่ยงการกินอาหารระหว่างการล้างไตหรือก่อนล้างไตทันที “เพราะเลือดจะไปกองในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงทางเดินอาหารแทนทำให้ความดันตก”
4.ถ้าแก้ไข3 ข้อเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้นผู้ป่วยควรได้รับการประเมินหัวใจโดยทำ Echocardiogram หรือพบแพทย์ด้านหัวใจ “การทำechocardiogram สามารถบอกว่าเรามีลิ้นหัวใจที่ตีบตัน น้ำขังเยื่อหุ้มรอบหัวใจ หรือ ความสามารถในการบีบตัวของหัวใจผิดปกติ”
5.คุณหมอโรคไตอาจเพิ่มปริมาณโซเดียม แคลเซียม โพแทสเซียม หรือ ลดอุณหภูมิของน้ำยาล้างไต ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง รวมไปถึงให้ยากระตุ้นสร้างเม็ดเลือดให้ค่า hb >10
6.คุณหมอโรคไตอาจจะสั่งยาที่ช่วยเพิ่มความดันนั่นก็คือ Midodrin 5-10mg ให้กินก่อน 30 นาที ก่อนการล้างไต
ในบางกรณีคุณหมอโรคไตอาจจะแนะนำให้คนไข้เพิ่มเวลาล้างไตจาก 3 ชั่วโมงไปถึง 4 ชั่วโมงหรือเพิ่มจำนวนครั้งของการล้างไตชั่วคราว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องดึงน้ำเร็วเกินไป
หลังจากที่เกิดความดันต่ำขณะล้างไตพยาบาลต้องหยุดดึงน้ำออกทันที จับผู้ป่วยนอนราบแล้วให้น้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดแทน เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น จะไม่มีทางเลือกนอกจากต้องกลับมาล้างไตเพิ่มอีกครั้ง เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้ความดันต่ำ ❗️
22 เมษายน 2562
ผู้เขียน : พญ.ชลลดา พงศ์รัตนามาน อายุรแพทย์โรคไต (หมอทิพย์)
ผู้เรียบเรียง : นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือดฟอกไต (หมอท๊อป)
ขอบคุณสำหรับการแชร์ของท่านเพื่อผู้ป่วยไตวายครับ
1 แชร์ของท่านอาจช่วยชีวิตใครบางคนอย่างไม่คาดฝัน
นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน
ศัลยแพทย์เฉพาะทางหลอดเลือดฟอกไต
CEO สายธาราคลินิก ศูนย์ผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต
LINE : @drtop
Facebook ผ่าตัดเส้นฟอกไต by หมอท๊อป
www.drtop.co
www.saitaraclinic.com